วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

โครงงาน เรื่อง Blogger ศึกษาในหัวข้อเรื่อง เลขาคณิต จัดทำโดย 1. นางสาวกนนกวรรณ พันธ์ศรี เลขที่ 13 2. นางสาวกฤติยาภรณ์ วิสัยหมู เลขที่ 14 3. นางสาวบุญฑริกา เหล่าอัน เลขที่ 25 4. นางสาวอมรรัตน์ พันเดช เลขที่ 35 5. นางสาวนิตยา แก้วเก็บคำ เลขที่ 41 6. นางสาวจิราวรรณ พลเนตร เลขที่ 44 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 เสนอ คุณครู กฤตพล อินทร์เสนลา โรงเรียน ขอนแก่นวิทยายน 2 ( สมาน สุเมโธ ) บทคัดย่อ โครงงานเรื่อง Blogger ศึกษาในหัวข้อเรื่อง เลขาคณิต การใช้งานบล็อก บล็อกซอฟต์แวร์ ขั้นตอนการสร้าง Blogger ข้อมูลในบล็อกของกลุ่มบล็อก http://googlenoi.blogspot.com/ ของพวกดิฉันไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของคณิตศาสตร์ การสร้างรูปเลขาคณิตขึ้นในสมัยใด ใครเป็นผู้คิดค้นขึ้นมา สามารถสร้างได้อย่างไร กิตติกรรมประกาศ โครงงานเรื่อง Blogger ศึกษาในหัวข้อเรื่อง เลขาคณิตสำเร็จได้ด้วยดีเพราะได้รับความสนับสนุนและความร่วมมือจากหลายฝ่าย เริ่มต้นตั้งแต่การถ่ายทอดความรู้จากคุณครูที่ปรึกษา คุณครูกฤตพล อินทร์เสนลา ในเรื่องการสร้าง Blogger ขึ้น เพื่อแนะนำ นำเสนอเกี่ยวกับการรูปเลขาคณิตในเรื่องที่ดีมีสาระสำคัญ ร่วมไปถึง คุณครูอังควร โภคานิตย์ ครูประจำวิชาคณิตศาสตร์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นมาของเลขาคณิต และต้องขอบคุณสื่อทางอินเทอร์เน็ตที่ให้ข้อมูล http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet2/history_math/math_geo.htm ที่ให้ข้อมูลในการทำโครงงาน Blogger เล่มนี้ คณะผู้จัดทำโครงงาน Blogger ต้องขอขอบพระคุณทุกท่านดังกล่าวข้างต้นไว้ ณ ที่นี้เป็นอย่างสูง คำนำ โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งผู้จัดทำมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการสร้างบล็อก นำเสนอความรู้ทางเทคโนโลยี เพื่อฝึกทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี และเพื่อเผยแพร่ความรู้ผู้ทีเข้ามาเยี่ยมชม และในเนื้อหาประกอบด้วย การใช้งานบล็อก บล็อกซอฟต์แวร์ ขั้นตอนการสร้างบล็อก รวมไปถึงความรู้เกี่ยวกับการสร้างรูปเลขาคณิตว่ามีความเป็นมาอย่างไร คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงงานชิ้นนี้จะเกิดประโยชน์แก่ผู้จัดทำ และผู้เข้ามาเยี่ยมชมและเปิดอ่านเป็นอย่างมาก คณะผู้จัดทำ บทที่ 1 บทนำ แนวคิดที่มาและความสำคัญของโครงงาน บล็อกได้เริ่มมีบทบาทมากขึ้นปัจจุบันในวงการสื่อมวลชนในหลายประเทศ เนื่องจากระบบแก้ไขที่เรียบง่ายและสามารถตีพิมพ์เรื่องราวได้โดยไม่ต้องใช่ความรู้ในการเขียนเว็บไซต์ โดยนอกเหนือจากผู้เขียนข่าวส่งผลงานให้กับทางสื่อแล้ว ยังได้มาเขียนข่าวอีกช่องทางหนึ่งในการเผยแพร่ข้อมูลหรือแนวคิด โดยการเขียนบล็อกสามารถเผยแพร่ข้อมูลสู่ประชาชนรวดเร็วและเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าสื่อในด้านอื่น ข่าวที่นิยมบล็อกต่อสื่อมวลชน ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องซุบซิบวงการดารา ข่าวการเคลื่อนไหวทางการเมืองจากความนิยมที่มากขึ้น ทำให้หลายเว็บไซต์ทำให้เป็นส่วนกลางใช้ในงานบล็อกเพิ่มขึ้น มาใช้ของตนเองเพื่อเรียกให้มีการเข้าเว็บไซต์มาขึ้นทั้งผู้เขียนผู้อ่านผู้จัดทำโครงงานจึงคิดที่จะทำบล็อกนี้เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ศึกษา โดยการสร้างบล็อกขึ้น เพื่อให้เผยแพร่ความรู้แก่ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า 1. เพื่อศึกษาวิธีการสร้างบล็อก 2.นำเสนอความรู้ทางเทคโนโลยี 3.เพื่อฝึกทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี 4.เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.เพื่อศึกษากระบวนการทางเทคโนโลยี 2.เพื่อจัดทำบล็อกไว้ให้ความรู้แก่ผู้เยี่ยมชม บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง บล็อก บล็อกมาจากคำผสมคำระหว่าง WEB ( wolrd wied web ) + LOG (บันทึก) = BLOG คือเว็บไซต์ที่เจ้าของหรือ Blogger สามารถบันทึกเรื่องราวของตนเองลงในเว็บได้ตลอดเวลา การสร้าเว็บบล็อกสามรถทำได้ง่ายๆด้วยตัวเอง ไม่สับซ้อน ไม่เสียค่าใช้จ่ายเยอะ ไม่จำเป็นต้องรู้ภาษา อย่างน้อยขอให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตกับเว็บไซต์ ภายในเว็บบล็อก จะมีระบบจัดการเว็บไซต์พื้นฐานให้แล้ว โดยการสร้างเครื่องมือสำหลับ เขียนเรื่อง โพสรูป จัดหมวดหมู่และลูกเล่นอื่นๆ ที่ผู้จัดทำพยายามสร้างเพื่อดึงดูดคนที่เข้ามาเยี่ยมชมจากทั่วโลกให้เข้าไปใช้บริการ บล็อกสมารถอ่านหรือเขียนโต้ตอบกันได้ โดยการแสดงความคิดเห็นต่อท้ายของเรื่องนั้นๆบางคนมองว่าการเขียนบล็อกเหมือนกับการเขียนไดอารี่ออนไลน์ แท้ที่จริง ไดอารี่ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบล็อกเท่านั้น การเปิดบล็อกขึ้นมาไม่ใช่เพื่อการเขียนเรื่องราวในชีวิตประจำวันอย่างเดียว แต่สามารถใส่ความรู้ ประสบการณ์ เพื่อเป็นแนวความคิดให้คนอื่นๆ เช่นคุณครูเปิดบล็อกแนะนำเรื่องเทคนิคการเรียนให้ได้เกรดเฉลี่ยที่ดี เป็นต้น บล็อกคือสื่อใหม่ (New media) เป็นปรากฏการณ์ที่เปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารในอดีตอย่างสิ้นเชิง คนเขียนบล็อก สามารถเป็นสื่อด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งสื่อสารมวลชน เพราะสามารถสื่อสารกันองได้ในกลุ่มเล็กๆ หรือกลุ่มใหญ่ก็ได้ถ้าเรื่องไหนเป็นที่ถูกใจของชาวบล็อกชาวเน็ตคนๆนั้นอาจต้องการเปิดใช้บล็อกก็ได้ การใช้งานบล็อก ผู้ใช้บล็อกจะแก้ไขหรือบริหารบล็อกผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์เหมือนการใช่งานหรืออ่านเว็บทั่วๆไปโดยจะมีรูปแบบบริหารบล็อกที่แตกต่างกัน เช่น บางระบบที่มีบรรณาธิการของบล็อกผู้เขียนหลายคนจะส่งเรื่องเข้าทางบล็อก และจะต้องรอให้บรรณาธิการอนุมัติให้บล็อกเผยแพร่ก่อนบล็อกถึงจะแสดงผลในเว็บไซต์ที่ให้บริการบล็อก สำหลับผู้อ่านบล็อกจะใช่งานได้ในลักษณะเหมือนอ่านเว็บไซต์ทั่วไปและสามารถแสดงความเห็นได้ส่วนท้ายของแต่ละบล็อกดดยอาจจะต้องผ่านการลงทะเบียนในทางบล็อก นอกจากนี้ผู้อ่านบล็อกสามารถอ่านบล็อกได้ผ่านระบบ ฟีด ซึ่งมีให้บริการในบล็อกทั่วไปทำให้ผู้ใช่สามารถอ่านบล็อกได้ดดยผ่านโปรแกรมตัวอื่นโดยไม่ต้องเข้ามาสู่หน้าบล็อก บล็อกซอฟต์แวร์ บล็อกซอฟต์แวร์ หรือ บล็อกแวร์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช่ในอินเทอร์เน็ต ในลักษณะของระบบจัดการเนื้อหาเว็บที่ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และผู้เขียนหรือดูแลบล็อกจะแยกจากกันต่างหาก ส่งผลให้ผุ้เขียนบล็อกสามารถใช่งานได้ทันที่โดยไม่ต้องมีพื้นฐานความรู้ในด้านเอชทีเอ็มแอล หรือ การทำเว็บต์แต่อย่างใดทำให้ผู้เขียนบล็อกส่วนใหญ่ใช้เวลาว่างในการทำกิจกรรมอื่นๆได้ นอกจากนี้ซอฟต์แวร์จะสนับสนุน ระบบ WYSIWYG ซึ่งทำให้ง่ายต่อการเขียน และอาจเพิ่มเติมการมีเทมเพลตในหลายรูปแบบให้เลือกใช้ บทที่ 3 อุปกรณ์และวิธีการดำเนินงาน อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต วิธีการดำเนินงาน 1.กำหนดเรื่องที่จะทำโครงงาน 2.ศึกษาเรื่องที่จะทำโครงงาน 3.รวบรวมข้อมูล 4.ปฏิบัติงาน 5.นำเสนอผลงาน ข้อมูลในบล็อก ความคิดทางเรขาคณิต รูปทรงเรขาคณิต เป็นรูปที่ประกอบด้วยจุด เส้นตรง ส่วนโค้งต่าง ๆ และถ้าอยู่ในระนาบเดียวกัน เราก็เรียกว่ารูประนาบ แต่ถ้าหากเป็นรูปทรงที่มีความหนา ความลึก ความสูง เราก็เรียกว่ารูปสามมิติ หากเราหยิบภาชนะต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเราขึ้นมาจะพบว่าประกอบด้วย รูปทรงเรขาคณิต หลากหลายรวมกัน ความคิดเกี่ยวกับรูปทรงเรขาคณิตในแนวทางคณิตศาสตร์มีพัฒนาการมายาวนานหลายพันปีแล้ว รูปทรงเรขาคณิตแบบต่าง ๆ รูปทรงกลม ลูกบอล แก้วน้ำ ภาชนะถ้วยชามต่าง ๆ ประกอบเป็นรูปร่างแบบต่าง ๆ ดังนั้นการจะอธิบายหรือออกแบบสิ่งต่าง ๆ จำเป็นต้องอาศัยทฤษฎีทางเรขาคณิต ปัจจุบันประเทศไทยกำลังจะมีรถไฟใต้ดิน ลองนึกดูว่า ถ้าจะเจาะอุโมงค์ จากที่หนึ่งให้ทะลุหรือชนกับการเจาะมาจากอีกแนวหนึ่งได้ ต้องใช้หลักการทางเรขาคณิตมาช่วย นักคณิตศาสตร์ เริ่มจากการกำหนดจุด จุดซึ่งไม่มีขนาด ไม่มีมิติ และถ้าเราให้จุดเคลื่อนที่แนวทางการเคลื่อนที่ของจุด ก่อให้เกิดเส้น หากหยิบแผ่นกระดาษมาหนึ่งแผ่น ผิวของแผ่นกระดาษเรียกว่าระนาบ รูปที่เกิดบนกระดาษนี้เรียกว่ารูประนาบ และถ้าดูที่ผิวของถ้วยแก้วที่เป็นรูปทรงกระบอก เราก็จะเห็นผิวโค้ง ซึ่งเราอาจมองรูปผิวโค้งของถ้วยแก้วในลักษณะสามมิติ เส้นตรงมี 1 มิติ ระนาม 2 มิติ กล่องมี 3 มิติ มิติต่าง ๆ ของรูปทรงเรขาคณิต ในยุคสมัยบาบิโลน มีหลักฐานชัดเจนว่าได้มีการพิสูจน์ให้เห็นถึงทฤษฎีความสัมพันธ์ของด้านทั้งสามของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก การพิสูจน์กฎเกณฑ์นี้มีมาก่อนที่พีธากอรัสเกิดถึงกว่าพันปี (พีอากอรัสเกิดเมื่อ 572 ก่อนคริสตกาล) แต่พีธากอรัสได้พิสูจน์และแสดงหลักฐานต่าง ๆ ให้โลกได้รับรู้ และต่อมาได้ยอมรับว่าทฤษฎีบทที่ว่าด้วยเรขาคณิตที่เกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก เรียกว่า ทฤษฎีบทพีธากอรัส รูปทรงเรขาตณิต รูปทรงเรขาตณิตจัดเป็นรูปทรงที่มีสัดส่วนแตกต่างกันออกไปตามความต้องการของการใช้งาน ในการเขียนแบบงานทางด้านช่างอุตสาหกรรม มีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาถึงขั้นพื้นฐานการเขียนรูปทรงเรขาคณิต (ดังรูป 4.1) เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานเขียนแบบช่างอุตสาหกรรม โดยสามารถทำได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ตลอดจนช่วยในการอ่านแบบเพื่อจะเขียนหรือร่างลงในชิ้นงานได้อย่างถูกขั้นตอน รูปที่ 4.1 ตัวอย่างของเส้นที่ใช้ในงานเขียนแบบ ในงานเขียนแบบทั่วไปช่างเขียนแบบจะต้องมีความรู้ในเรื่องเรขาคณิตพื้นฐาน และสามารถดัดแปลง เพื่อนำไปประกอบในการเขียนรูปทรงต่างๆ ของชิ้นงานที่พบในงานเขียนแบบ การสร้างรูปในวิชาเรขาคณิต เราใช้เพียงวงเวียนและไม้บรรทัดเท่านั้น แต่เมื่อนำมาใช้ในงานเขียนแบบแล้ว ช่างเขียนแบบจะต้องมี ไม้ที, ไม้ฉาก, วงเวียน, และเครื่องมือประกอบอื่นๆ ประกอบอีกด้วย เครื่องมือเหล่านี้จะช่วยให้งานเขียนแบบที่เกี่ยวข้องกับรูปทรงเรขาคณิตสร้างได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น การเขียนแบบด้วยวิธีการเรขาคณิตนี้ ต้องฝึกการใช้เครื่องมือต่างๆ ให้ชำนาญ เช่น การเขียนส่วนโค้งโดยใช้บรรทัดเขียนโค้ง (Curve) ต้องมีความละเอียดในการวัด จะทำให้แบบต่างๆ ที่เขียนถูกต้องและเรียบร้อย ซึ่งเราจะต้องรู้จักเทคนิคในการใช้เครื่องมือต่างๆ เหล่านี้เป็นอย่างดี 2. การสร้างรูปทรงเรขาตณิต การเขียนแบบด้วยวิธีทางเรขาคณิตนี้ ต้องฝึกการใช้เครื่องมือต่างๆ ให้ชำนาญ เช่น การเขียนส่วนโค้ง ต้องมีความละเอียดในการวัด จะทำให้แบบต่างๆที่เขียนเป็นไปอย่างถูกต้องและเรียบร้อย ซึ่งเราต้องรู้จักเทคนิคในการใช้เครื่องมือต่างๆ เหล่านี้เป็นอย่างดี ซึ่งมีการสร้างหลายวิธี เช่น 2.1 การแบ่งเส้นตรง วิธีสร้าง 1. กำหนดสร้างเส้นตรง AB ใช้จุด A และจุด B เป็นจุดศูนย์กลางรัศมีเกิน 2. ลากเส้นตรง CD ตัดเส้นตรง AB ที่จุด O และเส้นตรง CD จะแบ่งครึ่งเส้นตรง 3. เส้นตรง AO จะเท่ากับ OB 2.2 การแบ่งมุม วิธีสร้าง 1. กำหนดมุม BAC ใช้จุด A เป็นจุดศูนย์กลาง (รัศมีพอสมควร) เขียนส่วนโค้ง 2. ใช้จุด E และ F เป็นจุดศูนย์กลาง เขียนเส้นโค้งตัดกันที่จุด D 3. ลากเส้นตรง AD จะแบ่งครึ่งมุม BAC ออกเป็น 2 มุม เท่าๆ กัน 2.3 การแบ่งเส้นตรงแบบขนาด วิธีสร้าง 1. กำหนดเส้นตรง AB ต้องการแบ่งเส้นตรง AB เออกเป็น 5 ส่วน เท่าๆ กัน เป็นจุด 2. ที่จุด A ลากเส้นตรงทำมุมกับจุด A (มุมเท่าไรก็ได้) 3. ใช้จุด A เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมีพอสมควรตัดเส้นตรง AC 5 ส่วน 4. ลากเส้นตรงผ่านจุดตัดให้ขนานกันทุกเส้น จะได้ส่วนแบ่งบนเส้นตรง AB เท่าๆ กัน 2.4 การสร้างรูป 3 เหลี่ยมด้านเท่า วิธีสร้าง 1. กำหนดวงกลมมี ABCD เป็นเส้นผ่าศูนย์กลางและ O เป็นจุดศูนย์กลางของวงกลม 2. ใช้ A เป็นเส้นผ่าศูนย์กลาง รัศมี AO เขียนเส้นโค้งตัดเส้นรอบวงที่จุด X, Y, และ Z 3. ลากเส้นตรง XY, YZ และ ZX จะได้รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า XYZ 2.5 การสร้างรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่า วิธีสร้าง 1. กำหนดวงกลมมี ABCD เป็นเส้นผ่าศูนย์กลาง ตัดกันที่จุด O 2. ใช้ A, B, C และ D เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี AO เขียนส่วนโค้งตัดกันที่จุด M, N, O, P 3. ลากเส้นตรง AD จะแบ่งครึ่งมุม BAC ออกเป็น 2 มุม เท่าๆ กัน 4. ลากเส้นต่อจุดตัดที่เส้นรอบวง จะได้สี่เหลี่ยมด้านเท่า 2.6 การสร้างรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า วิธีสร้าง 1. กำหนดวงกลมมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ABCD ตัดกันที่จุด O 2. แบ่งเส้นตรง OB ที่จุด X 3. ใช้จุด X เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมี XC เขียนส่วนโค้งตัด AO ที่จุด Y 4. ใช้ C เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมี CY เขียนส่วนโค้งตัดเส้นรอบวงที่จุด M, N, O, P ตามลำดับ 5. ลากเส้นตรงต่อจุดตัด M, N, O, P จะได้รูปห้าเหลี่ยมตามลำดับ 2.7 การสร้างรูปหกเหลี่ยมด้านเท่า วิธีสร้าง 1. กำหนดวงกลมมี O เป็นจุดศูนย์กลางของวงกลม 2. ใช้ A, B เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี AO เขียนส่วนโค้งตัดเส้นรอบวงที่จุด C, D, E และ F ตามลำดับ 3. ลากเส้นตรง AC, CE, EB, BF, FD และ DA 4. จะได้รูปหกเหลี่ยมด้านเท่า 2.8 การสร้างรูปเจ็ดเหลี่ยมด้านเท่า วิธีสร้าง 1. กำหนดความยาวด้าน AB ใช้จุด A เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมี AB เขียนส่วนโค้งครึ่งวงกลมตัดที่จุด C 2. แบ่งวงกลมออกเป็น 7 ส่วน เท่าๆ กัน โดยใช้ไม้โปรแทคเตอร์แบ่งมุม ลากเส้นตรง A1, A2, A3, A4, A5 และ A6 ให้ออกไปนอกครึ่งวงกลม (ดังรูป) 3. ใช้จุด B และ 2 เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมี AB เขียนส่วนโค้งตัดกันที่ A3, A6, ที่จุด MP 4. ใช้จุด MP เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมี AB เขียนเส้นโค้งตัดเส้น A4, A5 ที่จุด NO 5. ลากเส้นตรง A2, 2M, MN, NO, OP และ PB ตามลำดับ ก็จะได้รูปเจ็ดเหลี่ยมด้านเท่าตามต้องการ 2.9 การเขียนส่วนโค้งสัมผัสเส้นตรงที่ตั้งฉาก วิธีสร้าง 1. กำหนดเส้นตรง 2 เส้นตั้งฉากกันที่จุด A ให้รัศมีเขียนส่วนโค้ง r เท่ากับ 15 มม. 2. ใช้จุด A เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี r เขียนส่วนโค้งตัดเส้นตรงที่จุด E และ F 3. ใช้จุด E และ F เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมี r เขียนส่วนโค้งตัดกันที่จุด O 4. จุด O จะเป็นจุดศูนย์กลางเขียนส่วนโค้ง r สัมผัสเส้นตรง 2.10 การเขียนส่วนโค้งสัมผัสมุมแหลมและมุมป้าน วิธีสร้าง 1. กำหนดมุมแหลมและมุมป้าน มีจุด A เป็นปลายแหลมของมุม 2. ให้รัศมีส่วนโค้งของมุม r เท่ากับ 10 มม. 3. ลากเส้นขนาดเท่ากับ r เท่ากับเส้นมุมแหลมและมุมป้าน 4. เส้นขนานตัดกันที่จุด O 5. ใช้จุด O เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมี r เขียนส่วนโค้งสัมผัสมุมแหลมและมุมป้าน 2.11 การเขียนวงรีด้วยวงเวียน วิธีสร้าง 1. กำหนดสร้าง AB ยาวเท่ากับ 100 มม. CD ยาวเท่ากับ 60 มม. 2. ลากเส้นตรง AC ใช้จุด O เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมี AO เขียนส่วนโค้งตัดเส้นตรง OC ที่จุด X 3. ใช้จุด C เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมี CX เขียนส่วนโค้งตัดเส้นตรง AC ที่จุด Y 4. แบ่งครึ่ง AY ลากเส้นแบ่งครึ่ง AY ตัดเส้นตรง AO ที่จุด M ตัดเส้น OD ที่จุด P 5. ใช้จุด O เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมี OM ตัดเส้นตรง OB ที่จุด N 6. ใช้จุด O เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมี OP ตัดเส้นตรง OP ที่จุด Q 7. ลากเส้นสัมผัสส่วนโค้ง PN, QN 8. ใช้จุด M, N เป็นจุดศูนย์กลาง เขียนส่วนโค้ง r 9. ใช้จุด P, Q เป็นจุดศูนย์กลาง เขียนส่วนโค้ง R สัมผัสส่วนโค้ง R จะได้รูปวงรี 2.12 การสร้างวงรีด้วยวงกลมสองวง วิธีสร้าง 1. กำหนดวงกลมสองวง เส้นผ่าศูนย์กลาง AB เท่ากับ 100 มม. เส้นผ่าศูนย์กลาง CD เท่ากับ 60 มม. 2. แบ่งวงกลมออกเป็น 12 ส่วน โดยใช้บรรทัดสามเหลี่ยมทำมุม 30 และ 60 องศา ลากผ่านจุดศูนย์กลาง O 3. จุดตัดที่เส้นรอบวงใหญ่ ลากเส้นตั้งฉาก และจุดตัดที่เส้นรอบวงเล็ก ลากเส้นขนานไปตัดกัน (ดังรูป) 4. ที่จุดตัด ใช้ Curve เขียนส่วนโค้งวงรี โดยใช้การต่อส่วนโค้ง อย่างน้อย 3 จุด จะได้วงรี บทที่5 สรุปผล การสร้างบล็อกเป็นการสร้างที่มีการใช้งานไม่ยากจนเกินไปแม้ผู้ที่เริ่มใช้งานก็สามารถที่จะสร้างได้เหมือนกันผู้ที่มีประสบการณ์สร้างบล็อกมาอย่างเชี่ยวชาญแล้ว การสร้างบล็อกสามารถให้ความรู้และข้อมูลแก่ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมได้ และทำให้ผู้จัดทำมีความรู้เกี่ยวกับบล็อกเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ข้อมูลในบล็อกที่ผู้จัดทำได้สร้างไว้มีเนื้อหาเกี่ยวกับ การสร้างรูปเลขาคณิต ทำให้ผู้ที่เข้ามาศึกษาเยี่ยมชม ได้ข้อมูลมากมายไม่ว่าจะเป็นความรู้เกี่ยวกับรูปทรงต่างๆว่าเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ใครเป็นผู้คิดค้น เริ่มต้นการสร้างรูปเลขาคณิตเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ในการทำบล็อกผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เข้ามายี่ยมชมและผู้อื่นได้